โครงสร้างการดำเนินงาน

      ศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชน (ศอ.ปส.ย.) เป็นเครือข่ายเยาวชนต่อต้านยาเสพติดในการกำกับของสำนักงาน ป.ป.ส. มีโครงสร้างการดำเนินงานระดับชาติ ภาค และระดับจังหวัด มีโครงสร้างการดำเนินงาน ดังนี้

 

ศอ.ปส.ย.ระดับชาติ

หน้าที่       

1. เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเยาวชน ทุกระดับในการปฏิบัติงาน ศอ.ปส.ย ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน
2. พัฒนาศักยภาพของสมาชิก ศอ.ปส.ย.ทุกระดับ
3. ประสานงาน ติดตาม รวบรวม ผลการดำเนินงานของ ศอ.ปส.ย.ทุกภาค
4. รวบรวมและสะท้อนปัญหาของเยาวชนโดยเฉพาะด้านปัญหายาเสพติด รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะแก่ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. รวบรวมฐานข้อมูล และทำเนียบเครือข่ายเยาวชน ศอ.ปส.ย.ทุกภาคทั่ว ประเทศ
6.ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลการดำเนินงานของ ศอ.ปส.ย.ผ่านสื่อ และเวทีต่าง ๆ
7.ค้นคว้า รวบรวมและ สนับสนุนองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนแก่สมาชิก ศอ.ปส.ย
8.ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่สำนักงานมอบหมาย

 

ศอ.ปส.ย.ระดับภาค

หน้าที่ 

1. เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเยาวชนใน ระดับภาค ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานและบริบทของพื้นที่
2. พัฒนาศักยภาพของสมาชิก ศอ.ปส.ย.ภาค
3. ประสานงาน ติดตาม รวบรวม ผลการดำเนินงานของศอ.ปส.ย.จังหวัด
4. รวบรวมและสะท้อนปัญหาของเยาวชนโดยเฉพาะด้านปัญหายาเสพติด
5. รวบรวมฐานข้อมูล และทำเนียบเครือข่ายเยาวชน ศอ.ปส.ย.ภาค
6. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลการดำเนินงานของ ศอ.ปส.ย.ผ่านสื่อ และเวทีต่างๆ
7. ค้นคว้า รวบรวมและ สนับสนุนองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนแก่สมาชิก ศอ.ปส.ย
8. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่สำนักงานภาคมอบหมาย

 

ศอ.ปส.ย.ระดับจังหวัด

หน้าที่       

1. เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเยาวชนในระดับ จังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานและบริบทของพื้นที่
2. พัฒนาศักยภาพของสมาชิก ศอ.ปส.ย.จังหวัด
3. ประสานงาน ติดตาม รวบรวม ผลการดำเนินงานของ เครือข่าย ศอ.ปส.ย.จังหวัด
4. รวบรวมและสะท้อนปัญหาของเยาวชนโดยเฉพาะด้านปัญหายาเสพติด
5. รวบรวมฐานข้อมูล และทำเนียบเครือข่ายเยาวชน ศอ.ปส.ย.จังหวัด
6. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลการดำเนินงานของ ศอ.ปส.ย.ผ่านสื่อ และเวทีต่าง ๆ
7. ค้นคว้า รวบรวมและ สนับสนุนองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนแก่สมาชิก ศอ.ปส.ย
8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่สำนักงานภาคมอบหมาย

 การดำเนินงาน ศอ.ปส.ย. ในส่วนภูมิภาค มีดังนี้

1. ศอ.ปส.ย. ภาค 1 มีพื้นที่ดำเนินงาน 9 จังหวัด คือ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง
2. ศอ.ปส.ย. ภาค 2 มีพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
3. ศอ.ปส.ย. ภาค 3 มีพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
4. ศอ.ปส.ย. ภาค 4 มีพื้นที่ดำเนินงาน 11 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี
5. ศอ.ปส.ย. ภาค 5 มีพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน
6. ศอ.ปส.ย. ภาค 6 มีพื้นที่ดำเนินงาน 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
7. ศอ.ปส.ย. ภาค 7 มีพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด คือ กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี
8. ศอ.ปส.ย.ภาค 8 มีพื้นที่ดำเนินงาน 7 จังหวัด คือ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี
9. ศอ.ปส.ย. ภาค 9 มีพื้นที่ดำเนินงาน 7 จังหวัด คือ ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสตูล
10. ศอ.ปส.ย. กทม. มีพื้นที่ดำเนินงาน คือ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต

ฮิต: 12499